สวนนงนุช ความภาคภูมิใจของประเทศไทย ไม่แพ้ใครในโลก

สวนนงนุช ถูกยกย่องจากเว็บไซต์ทั่วโลกว่าเป็น “1 ใน 10 สวนที่สวยที่สุดในโลก” (One of the Top Ten Most Beautiful Gardens in the World) ได้มีการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ภายใต้แนวคิด “อีกนิดนึง” ของคุณโต้ง-กัมพล ตันสัจจา และตามความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนี้

คุณโต้ง เผยว่า “คำว่า ‘อีกนิดนึง’ มาจากคำสอนของรัชกาลที่ 9 ที่ท่านบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียง คนไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร พอเพียงสำหรับบุคคลคนนั้น ผมพอเพียงเพื่อสร้างอันนี้ ผมมีโชว์รูมรถอยู่ข้างหลังไม่มีคนเดินไป ผมก็สร้างอีกอันนึงก็เลยมี โชว์รูมรถ 1 โชว์รูมรถ 2 กระบองเพชร 1 กระบองเพชร 2 ผมใช้ทฤษฎี ‘อีกนิดนึง’ แล้วก็ทำทุกวัน”

ตอนนี้ สวนนงนุชสามารถแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านได้แล้ว คุณโต้ง พูดอย่างภาคภูมิใจ ว่า “สวนเราสู้เพื่อนบ้านได้อยู่แล้ว ก่อนหน้านี้ ผมกับสิงคโปร์ถือว่าเป็นคู่แข่งกัน Garden by the Bay เขาสร้างใช้เงินทุนรัฐบาลสองหมื่นกว่าล้าน เขาบอกตอนนี้เขาเหนือเราแล้ว ผมก็เลยบอกไม่เป็นไรเดี๋ยวสร้าง ผมเลยสร้าง Garden in the Sky ตอนแรกใช้คำว่า Hanging Garden of Thailand ผมสร้างเป็นสวนที่สวยที่สุดในโลก แต่ต่างชาติไม่มีใครรู้ ผมไม่มีเงินพอที่จะโฆษณาเหมือนสิงคโปร์ แต่ผมทำให้รัฐบาลฟรี ดูแลให้ฟรี แต่เราเพียงต้องการให้รัฐบาลช่วยบอกทั้งโลกว่า ประเทศไทยก็มีสวนที่ใหม่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง

สวนกระบองเพชร ผมสร้างขึ้นมา สิงคโปร์มองคนละอย่าง ต้นกระบองเพชรไม่ได้สำคัญสำหรับเขา ผมกลับมองว่าสวนกระบองเพชรสำคัญสำหรับคนเอเชียและผลสุดท้ายเลย ฝรั่งมาก็ชอบ จะเห็นว่าสวนนงนุชมีสวนกระบองเพชร 3 แห่งและเนอสเซอรี่สวนกระบองเพชรเป็นอะไรที่ popular มากที่สุด

“เราได้เพิ่มสวนกระบองเพชรถาดขึ้นมา หลังจากที่ผมดูรูปจาก Pinterest เรามีอาร์ทติสที่ปั้นกระถางอยู่นครสวรรค์ เขาย้ายมาทั้งครอบครัวเลย เป็นหนึ่งเดียวในโลก

“โควิด ดีอย่างเสียอย่าง คือเรามุ่งไปที่คนไทยอย่างเดียว แต่ก่อนเราได้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ แต่ตอนนี้ เราต้องได้อย่างน้อย 70 เปอร์เซ็นต์ ต้องกู้แบงค์จ่ายเงินเดือนคนงานวันละ 1 ล้านบาทเพื่อให้เราเดินได้ ผมต้องการเป็น 1 ใน 10 สวนที่สวยและดีที่สุดในโลก Collection พันธุ์ไม้ของเรามีมากที่สุดในโลก เราเป็นแหล่งที่เก็บพันธุ์ไม้ให้นักพฤกษศาสตร์ทั่วโลก นี่คือหน้าที่ของการเป็นสวนพฤกษศาสตร์”

สวนนงนุช มีชื่อเสียงมายาวนานถึง 40 ปี โดยเริ่มจากคุณพิสิฐและคุณนงนุช ตันสัจจา ผู้ซึ่งเป็นคุณพ่อคุณแม่ของคุณโต้ง ได้ซื้อที่ดินสวนผลไม้จำนวน 1,700 ไร่ และถูกเปลี่ยนเป็นสวนไม้ดอกและไม้ประดับ หลังจากที่คุณนงนุช ได้ไปเที่ยวสิงคโปร์และอินโดนีเซีย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับให้บริการกับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ สวนแห่งนี้ยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยและการแสดงช้างแสนรู้ในโรงแสดง 6 ปีต่อมา คุณโต้งได้รับช่วงต่อจากคุณแม่

คุณโต้ง พูดว่า “สวนนงนุช ผมออกแบบเองหมด คือผมเข้าใจเรื่องก่อสร้าง เรื่องการดูแลรักษา เรื่องพันธุ์ไม้ และ ความต้องการของคนที่มาเที่ยว โดยมากที่มีปัญหากันทั่วไป คือคนออกแบบไม่เข้าใจต้นไม้ เรื่องการดูแลรักษาต้นไม้ เพราะเมื่อสวนเสร็จ วันที่เริ่มต้นของปัญหา ต้นไม้ตายจะทำอย่างไร เราไม่เคยคิดว่าทำอันนี้คุ้มไหมแต่ต้องทำทั้งหมดเพื่อให้สวย อีกอย่างที่ผมอยู่ได้ ผมมีบริษัทจัดสวนออกแบบดูแลสวนทั่วประเทศ เราทำสวน park ตามเมืองใหญ่ๆ อันนี้เป็นรายได้มาช่วยเราเดินได้”

ตั้งแต่เริ่มแรก สวนนงนุช สร้างขึ้นมาเพื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ตอนนี้ สร้างสวนนงนุช 2 ขึ้นมาเพื่อที่จะรองรับคนไทยที่มาดูงาน ดูเรื่องผลไม้ไทย พันธุ์ไม้ไทย เตาเผา ปุ๋ย เรื่องของวัฒนธรรมไทย เช่น ต่อยมวย ลอยกระทง หรือเทศกาลสงกรานต์ ทางเข้าสวนนงนุช 2 จะเต็มไปด้วยผลไม้ปั้น คุณโต้งบอกว่า ให้คนดูฟรี ให้คนถ่ายรูปฟรี ให้คนภูมิใจว่านี่คือผลไม้ไทย เป็นการสร้างความรู้สึกให้แก่คนที่มาเที่ยวสวนนงนุช

สวนนงนุช มีสัตว์เลี้ยงปั้นไว้ประมาณ 100 ชนิดเพื่อจะดึงเยาวชนรุ่นใหม่ และไดโนเสาร์ไปกว่า 230 ชนิด 800 กว่าตัว ทำด้วยซีเมนต์โครงเหล็กอยู่ข้างใน รวมทั้งไดโนเสาร์ไทย 12 ชนิดเพื่อแหล่งเรียนรู้ให้เด็กได้ดู

คุณโต้ง เพิ่มว่า “ครั้งหน้าจะทำให้เสร็จให้ทันตรุษจีน ก็คือแปลงของพันธุ์ไม้ Collection Display มีบัว มีปาล์ม ไม้ต่างๆ รวมทั้งเรือนภายใน เด็กๆ เวลามาดูงานไม่สามารถแยกแยะตระกูลต้นไม้ได้ เช่นโกสน สับปะรดสี เด็กๆ สามารถเดินผ่านและเห็นป้ายชื่อที่เมืองนอกกำลังทำกัน

“เราปั้นช้างสูง 10 เมตรกว่ามีงวงใหญ่มากๆ เลย เป็นที่ให้นักเรียนมาถ่ายรูปรวม เขาจะได้ภูมิใจช้างคู่บ้านคู่เมืองของเรา เรามองถึงแหล่งถ่ายรูปให้กับลูกค้าเราให้แก่คนไทย เพราะว่าสมัยใหม่เนี่ย การถ่ายรูปเซลฟี่ตัวเองแล้วส่งภาพให้เพื่อนเป็นเรื่องของวัฒนธรรมใหม่แล้ว

“ล่าสุดที่เพิ่งเปิดไป แพทย์แผนไทย ผมเชื่อว่าการรักษาของคนปัจจุบัน ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ต้องไปที่โรงพยาบาล แต่บางอย่างก็ไม่จำเป็น เช่นกล้ามเนื้อ ตึงเดินไม่ไหวที่แพทย์แผนไทยเรานวดได้ เราต้องการโปรโมทไม่ให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ พวกกัญชา เราจับมือกับแพทย์แผนไทย เราทราบอยู่กับใจเลยว่าทั้งหมดเป็นของรัฐบาลไม่ใช่ของเรา แต่ที่เราปลูกเพราะคนมาดูงานก็อยากจะเห็นว่ากัญชาเป็นอย่างไร”

นอกจากนี้ สวนนงนุช ได้นำเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่นี่ด้วย เช่น พระ 9 วัดมาอยู่ในสวนลอยฟ้า แต่ละวัดให้พรไม่เหมือนกัน และพระประจำวันเกิด เพื่อให้คนเข้าไปสัมผัสได้

สวนนงนุชสอง มีที่พักเพิ่มสำหรับคนพิการ พักได้ที 44 ห้อง มีสระว่ายน้ำสำหรับคนพิการด้วย เรื่องของอารยะสถาปัตย์ และห้องประชุมที่เรียกว่า N.I.C.E

ตอนนี้ คุณโต้ง ยังมีความฝันที่จะสร้างอะไรใหญ่ๆ อีก คือ “สร้างพระองค์ใหญ่ พระดำองค์ใหญ่ที่สุดให้ได้สัดส่วน ตรงสวนฝรั่งเศส เราเอาศาสนาธรรมชาติเข้าไปช่วยดีกว่าให้คนไปตรงนั้น ตอนนี้มีโครงการสร้างไดโนเสาร์ยักษ์ 6 ตัว เราสร้างจนเราเข้าใจและได้สเกลด้วย ผมฝันว่า วันหนึ่ง สตีเว่น สปีลเบิร์ก ต้องมาดู นั่นคือ Ultimate แล้ว”

สวนนงนุช มีการนำระบบเทคโนโลยีมาใช้กับคนมั้ย คุณโต้งตอบว่า “อยากมีแต่กำลังเรายังไม่ถึงขนาดนั้น เราทำเบสิคไปให้ครบก่อนดีกว่า อะไรที่เราทำได้เราทำตอนนี้ คำพูดที่ดีที่สุดก็คือ ‘เพิ่งมาเปลี่ยนอีกแล้ว’ ดีเลยเขาจะได้มาอีก ผมเจอหลายคนที่พึ่งมา เด็กที่มากับโรงเรียน และกลับมาอีกกับพ่อแม่ เป็นเรื่องที่ผมภูมิใจมากที่สุด”

เนื่องจากการโปรโมทยังไม่ไปสู่วงกว้างอย่างเท่าที่ควรจะเป็น คุณโต้ง ได้พบว่า คนเป็นสื่อที่ดีที่สุด

“เข้าฟรี เราทำมาก่อนโควิดเป็นปีแล้ว เหตุผลที่เข้าฟรีเพราะผมดูแล้วว่าผมคงไปไม่รอดจริงๆ ผมต้องการพวกสื่อช่วยโฆษณาให้เราด้วยซ้ำ แต่มันก็คือแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งซึ่งเขาก็ไม่เข้าใจว่าเราทำได้แค่ไหน ดังนั้น ผมก็เลยมีโครงการกับนายอำเภอสัตหีบ เราให้คนในอำเภอสัตหีบเข้าฟรี 1 เดือนแล้วก็ไปชลบุรี ที่อำเภอไปเรื่อยๆ จนครบและเริ่มไปจังหวัดอื่นๆ จนครบ คนที่มาเขาเห็นออกไปพูด เขาคือสื่อโฆษณาของสวนนงนุชโดยตรงตอนนี้ทั้งประเทศ

“แต่สิ่งที่ภูมิใจที่สุด ก็คือ ผมทำหน้าที่ของประเทศได้เต็มที่ คือเยาวชนรุ่นใหม่มากันเต็มที่ ตอนนี้มากับโรงเรียนมาเสร็จก็ถ่ายรูปส่งให้เพื่อน เพื่อนก็บอกพ่อให้พามา ผมถามพ่อแม่ที่พามาคุณรู้ได้ยังไง เขาบอกว่ารู้จักไอ้ตัวเล็กให้พามาที่นี่ แล้วที่ผมแปลกใจผู้ใหญ่หลายคนมาตอนแรกก็ดีใจสนใจที่นี่

“เรารู้เลยว่าสิ่งที่เราทำ เราทำสำเร็จแล้ว ซึ่งทุกประเทศกำลังพยายามทำอยู่ ภาพของความทรงจำจะอยู่ในตัวเขา เมื่อเขาโตขึ้นมีครอบครัว เขาจะพาลูกมาอีก อันนี้เป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในยุโรปมานานแล้ว แต่ทางเอเชียยังไม่มี เราก็เริ่มสร้างอันนี้ขึ้นมา อันนี้ผมภูมิใจมากที่สุด แล้วก็จะเดินต่อไปด้วยจำนวนคนไทยที่มาที่นี่จริงๆ”

สวนนงนุช Nongnooch Tropical Garden

HEAD OFFICE

34/1 Moo 7 Najomtien District, Sattahip, Chonburi 20250, Thailand

TEL: 081-919-2153, 087-488-0028, 061-647-7088 (Reservation)

EMAIL: info@nongnoochtropicalgarden.com

PATTAYA OFFICE

1/11-12 M.9 Nongprue Banglamung Chonburi 20260

TEL: +66(038)415 145, +66(038)425 748

EMAIL: info@nongnoochtropicalgarden.com

http://www.nongnoochtropicalgarden.com/th/home/

https://www.facebook.com/Garden.Nongnooch/

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *