Sound Gallery House โรงแรมบูติค สไตล์ชิโน-ยูโรเปี้ยน กับคอนเซ็ปต์ Music & Garden

ครั้งแรกที่เห็นป้าย Sound Gallery House นี้ ทำให้คิดไปต่างๆ นาๆ ว่า สถานที่นี้คือะไรกันแน่ ความคิดแรกคือที่พักเพราะว่ามีคำว่า House ความคิดต่อมาคือสถานที่จัดงานต่างๆ รวมทั้งศิลปะ เพราะมีคำว่า Gallery ความคิดสุดท้ายคือสถานที่ให้ความบันเทิง หรือสถาบันดนตรี เพราะมีคำว่า Sound

Sound Gallery House โรงแรมบูติค สไตล์ชิโน-ยูโรเปี้ยน เปิดให้บริการแล้ว

หลังจากได้พูดคุยกับผู้บริหารหนุ่ม คุณจอม-ศาสวัส หลิมพานิชย์ Sound Gallery House เป็นโรงแรมบูติค สไตล์ชิโน-ยูโรเปียน (Sino-European) ที่มีสถาปัตยกรรมและการตกแต่งผสมผสานลวดลายแบบจีนและยุโรป ส่วนหนึ่งของเมืองเก่า ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ถูกพัฒนามาจาก “อังมอหลาว” หรือบ้านตึกฝรั่งสีขาว ของ “หลิมซิมจั่น” คหบดีชาวจีนฮกเกี้ยนและนายหัวเหมืองแร่ดีบุก

คุณจอม-ศาสวัส หลิมพานิชย์ ผู้บริหารรุ่นใหม่ของ Sound Gallery House

มาบริหารโรงแรมนี้ตั้งแต่เมื่อไหร่

ตั้งแต่ตอนที่เรียนอยู่ ผมชอบเล่นดนตรี เมื่อก่อนเคยเรียนที่สวีเดน ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม แต่ว่าตอนที่เรียนอยู่ที่เมืองไทย ที่ธรรมศาสตร์ SIIT (Sirindhorn International Institute of Technology) เป็นครูสอนและนักแสดงสาธิตกับยามาฮ่า ก็เลยชอบเรื่องดนตรี ก็กลับมาเปิดโรงเรียนดนตรี คุณพ่อเปิดให้ตั้งแต่ 2547 ประมาณ 16 ปีแล้ว

คุณจอม-ศาสวัส หลิมพานิชย์ กับคุณพ่อและคุณแม่

เป็นลูกคนจีน แต่ทำใมคุณพ่อส่งเสริมให้เรียนดนตรี

จริงๆ แล้ว ต้องขอบคุณคุณพ่อมากๆ ตอนที่ยังเด็ก มีคนคัดค้านเยอะ คุณพ่อเป็นคนชอบดนตรี ก็เลยส่งไปเรียนดนตรีและก็ภูเก็ตยังไม่ค่อยมีความพร้อมในเรื่องของโรงเรียนดนตรี ก็เลยต้องขึ้นลงกรุงเทพบ่อยมาก กับคุณครูที่กรุงเทพ ปิดเทอมเดือนตุลาคม คุณครูก็จะลงมาภูเก็ต ปิดเทอมใหญ่ผมก็ขึ้นไปเรียนที่กรุงเทพ

Sound Gallery House กับคอนเซ็ปต์ Music & Garden

คุณพ่อทำอาชีพอะไร

คุณพ่อทำธุรกิจสระว่ายน้ำ ขายอุปกรณ์สระว่ายน้ำ กรองน้ำอะไรต่างๆ และก็รับทำออกแบบให้กับโรงแรม

คุณพ่อมาพบที่ตรงนี้ได้อย่างไร

ก็มาเช่าอาคาร 6 ห้องด้านหน้า ทำเป็นออฟฟิตสระว่ายน้ำ ที่นี่ จริงๆ แล้ว บ้านหลังนี้ขายให้คนอื่นก่อน และบังเอิญว่าไปซื้อกลับมา ในความบังเอิญ เพิ่งมาคิด ตอนที่มาเริ่มทำโครงการนี้ว่า จริงๆ แล้ว เราแซ่เดียวกัน คือ หลิม

ลวดลายสไตล์ชิโน-ยูโรเปี้ยน ที่ผสมผสานระหว่างจีนและยุโรป

คนที่ซื้อไปก่อนเรา เอาอาคารไปทำอะไร

เป็นคนทำโรงไม้อยู่ข้างๆ แต่บ้านหลังนี้ ไม่ได้ใช้ทำอะไร ก็ถูกปิด จริงๆ แล้ว บ้านหลังนี้ถูกปิดมาหลาย 10 ปีแล้ว พอเราซื้อมาก็เป็น 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไร ก็ปิดไว้เฉยๆ เหมือนกัน

แต่เดิมเป็นอย่างไร

บ้านหลังนี้เป็นปูนแบบนี้ แต่ว่าเราก็มา renovate และก็สถาปนิกเก่งมาก ในการที่ถอดภาษาอะไรต่างๆ และก็พยายามที่จะรักษาของเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด เป็นสไตล์ชิโน-ยูโรเปียน (Sino-European)

อาคารหลังใหม่ ได้ถอดภาษาเดิมจากบ้านหลังเดิม

เริ่มมาทำเป็นโรงแรมเมื่อไหร่

คุณพ่ออยากจะเปิดบ้านหลังนี้ให้คนได้กลับเข้ามาเห็นอีกครั้งหนึ่ง เราก็เลยตัดสินใจทุบอาคารด้านหน้า (ที่เราเคยเช่า) ทั้งหมดเลย จริงๆ บ้านหลังนี้ ถูกบล็อคถูกปิดบังมาประมาณสัก 20-30 ปีได้ ที่เป็นรูปตัว L หลังจากที่เราทุบตึกด้านหน้าและสร้างอาคารด้านหน้าขึ้นมาใหม่ โดยถอดภาษาเดิมจากบ้านหลังนี้ คือลักษณะการตกแต่ง ไม่ว่าเป็นลายเสา ลวดลายต่างๆ ของบ้านหลังนี้ ทำให้เหมือนกับว่าบรรพบุรุษสร้างบ้านหลังนี้และลูกหลานมาต่อยอด

ประตูทางเข้า ตัวโรงแรม Sound Gallery House

ไอเดียของโรงแรมมาอย่างไร

ไอเดียมาจากการที่ว่าเราคิดว่าภูเก็ตเป็นเรื่องของเมืองท่องเที่ยว ผมเองทำโรงเรียนดนตรี PT Inter Music และ โรงเรียนสอนเต้น PIDA (Phuket International Dance Academy) ก็เลยอยากเอาดนตรีมาเชื่อมโยงให้เป็นที่พักที่มีเสียงดนตรี และ Decoration ในบ้านหลังนี้ ที่เอามาทำโรงแรม พวกหน้าห้อง เตียงนอน หัวเตียงอะไรต่างๆ ก็จะมีเครื่องดนตรีวางอยู่ ถูกตกแต่งไปด้วยดนตรี และบ้านหลังนี้ คือแซ่หลิม ถ้าเป็นภาษาจีนก็จะเป็นตัวมู่ แปลว่า ต้นไม้หรือป่า เราก็เลยพยายามจัดสวนสวยๆ เอาไว้ ให้คนที่มาได้สัมผัส

นอกจากห้องพักแล้ว ห้องน้ำ ยังถูกตกแต่งด้วยเครื่องดนตรีเหมือนกัน

มีทั้งหมดกี่ห้อง

ในตัวบ้านหลังนี้ จะมีแค่ 4 ห้อง เป็น Superior แนอกละ Suite และในส่วนของตึกใหม่ที่สร้างขึ้นมา มี 2 ห้องเป็นรูปแบบ Dormitory คือ sharing กัน เรียกว่า Music Box อยู่บนชั้นสอง ห้องละ 10 เตียง และทุกเตียงก็จะหันออกไปเห็นสวนด้านนอก ที่เราเอาไว้จัด Music Camp ด้วย ที่เหลือก็มีส่วนของเช่า และร้านขนมที่ผมทำกับพี่อีกคนและเพื่อน

ชื่อ Sound Gallery House มาอย่างไร

พอดี ทำโชว์รูมออกแบบดีไซน์เครื่องเสียง จำหน่ายเครื่องดนตรีต่างๆ ชื่อ Sound Gallery เราก็เลยคิดว่าเป็น Sound Gallery House ก็มีงานศิลปะด้วย ก็อย่างที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ ก็จะเป็น Omakase Bar

ร้านขนม Godo ที่มีชื่อเสียงในซอยรมณีย์ มาอยู่ที่นี่ด้วย

การที่เอาร้านขนม Godo มาอย่างไร

พี่ที่หุ้นกันทำ Food Cafe คาเฟ่ที่เน้นเรื่องกาแฟและเบเกอรี่ที่มีความหลากหลาย พอมาอยู่ที่นี่ คิดว่าเป็นโกปี้เตี่ยม (Kopitiam) และก็ความเป็นโกปี้เตี่ยม เมื่อก่อนคนภูเก็ตจะกินกับ “เจียะโก้ย” คือปาท่องโก๋ แล้วเราก็เลยคิดว่า น่าจะเป็นโดนัท (Doughnut) ก็เลยเป็นโกปี้เตี่ยมแอนด์โดนัท (Kopitiam X Donoughnut) ก็กลายเป็น Godo สำหรับร้าน Torry’s Ice Cream เป็นของน้อง Torry เป็นคนภูเก็ตก็เลยชวนกันมา ร้านแรกสีชมพูดังมากในซอยรมณีย์ ที่เชื่อมถนนถลางและถนนดีบุก ในเขตเมืองเก่าภูเก็ต แต่ที่นี่ร้านสีเขียว

ร้านไอศกรีม Torry’s Ice Cream ก็มาด้วย

เปิดมาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง

เปิดมาไม่ถึงปี คือเมื่อ 27 มีนาคม ปีที่แล้ว ก็เจอโควิด ก่อนโควิด ก็เริ่มดี มีการจัดเหมือน community เล็กๆ มี “หลาดมอหลาว” เชิญชวนคนที่ทำร้านอาหาร เบเกอรี่อะไรต่างๆ มาเปิดร้านและให้คนมาเที่ยวชมและชิม กำลังมาได้ดีเลย และก็โควิดก็มา

ช่วงนี้เปิดให้คนออกมาเที่ยวแล้ว มีแพลนอย่างไรบ้าง

ตอนนี้ก็โชคดี อย่างโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” และ “คนละครึ่ง” ก็ตอบโจทย์ เราก็อยู่ในย่านเมืองเก่า ก็คิดว่าในส่วนตรงนี้ก็ทำให้คนเลือกที่จะมาพัก แต่เราก็ลดราคาลงกว่าครึ่ง

“ผมอยากให้เด็กๆ ที่โรงเรียน หรือเยาวชนในภูเก็ต ได้ใช้พื้นที่มาเล่นดนตรีกันที่นี่”

ในอนาคต จะมีพัฒนาอะไร

ก็คิดว่า จะเป็นการผสมผสานเรื่องของความเป็นดนตรี ที่แบบว่า ผมก็อยากให้เด็กๆ ที่โรงเรียน หรือเยาวชนในภูเก็ตได้มีพื้นที่มาเล่นดนตรีกันที่นี่ พอมาแล้วก็เป็น family มีไอศกรีม มีคาเฟ่ มีร้านอาหาร เป็นจุดที่พักผ่อนและจุดเช็คอิน

“ผมชอบอีเล็กโทน เพราะว่ามีความหลากหลายของเครื่องดนตรีทุกชนิดในเครื่องเดียว” – คุณจอม-ศาสวัส หลิมพานิชย์

คุณจอม เล่นเครื่องดนตรีอะไร

ผมเล่นอีเล็กโทน (Electone) เพราะว่าชอบที่มันมีความหลากหลาย มันมีเครื่องดนตรีทุกชนิดอยู่ในเครื่องเดียว แล้วเราก็สามารถเลือกเสียงต่างๆ สามารถทำเพลงคล้ายๆ เพลงประกอบภาพยนตร์ได้ เราอยากจะเล่นเปียโนก็ได้ อยากจะเล่นเป็นวงออร์เคสตราก็ได้

Sound Gallery House

33/6 ถนนวิชิตสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

TEL: +66 (0)61 446 9114, +66 (0)76 608 854

LINE ID: soundgalleryhouse

https://www.facebook.com/SoundGalleryHouse

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *