เข้าสู่ “แดนสนธยา” กับ “ช่วง มูลพินิจ”

“แดนสนธยา ๓” นิทรรศการในรอบ 4 ปีของ ช่วง มูลพินิจ เจ้าของฉายา “จิตรกรผู้มองเห็นมดยิ้มสวย” ศิลปินแห่งชาติ และนักเขียนผู้มีชื่อเสียงของไทย กลับมาเป็นครั้งที่ 3 ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เข้าชมฟรี

ผลงานที่สร้างชื่อให้กับช่วงมาจากการเขียนภาพปกและภาพประดับในหนังสือและนิตยสารชั้นนำของไทยในยุคสมัยนั้น อาทิ ช่อฟ้า, ชาวกรุง, เฟื่องนคร และสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักด้วยผลงานเขียนลายเส้นแบบฟรีแฮนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รวมถึงหน้าปกหนังสือ “เสเพลบอยชาวไร่” ของ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ และ “กามนิต วาสิฏฐี” ด้วย

ในระยะแรกเริ่มจากภาพลายเส้นที่ประยุกต์ความอ่อนช้อยของลายไทย เข้ากับรูปทรงแบบเหมือนจริงได้อย่างกลมกลืน ต่อมาได้พัฒนามาใช้เทคนิคสีน้ำและสีน้ำมัน แต่ยังคงเอกลักษณ์เรื่องลายเส้นผสมผสานเข้ากับศิลปะสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว ช่วงได้สร้างสรรค์ผลงานอย่างมากมายทั้งงานออกแบบ จิตรกรรม ประติมากรรมและสถาปัตยกรรม ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวของดอกไม้ แมลง สัตว์ มนุษย์ ทั้งในแง่อีโรติกจนถึงนัยการมองเห็นในวัฏสงสารของชีวิต เป็นการผนึกเรื่องราวทางอุดมคติกับธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันอย่างงดงาม

ผลงานที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งคือ การออกแบบตัวหนังสือ ชื่อเรื่องและโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยในแนววรรณคดีหรือนิทานพื้นบ้านของไทย เช่น “แผลเก่า”, “เลือดสุพรรณ”, “เพื่อน-แพง”, “ไกรทอง”, “กากี” โดยเฉพาะ “เพื่อน-แพง” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในโปสเตอร์ที่งามที่สุดในโลก โดยสถาบันโรงภาพยนตร์แห่งชาติ กรุงลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2526

หลังจากที่ช่วงเป็นศิลปินอิสระมาระยะหนึ่ง ได้เริ่มก่อตั้งหอศิลป์ ช่วง มูลพินิจ เพื่อจัดแสดงผลงานที่เก็บสะสมตั้งแต่ยุคแรกจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบผลงาน อาทิ ภาพลายเส้น, สีน้ำ, สีน้ำมัน, ภาพพิมพ์, งานประติมากรรม, งานออกแบบต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสแก่ นักศึกษา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: ช่วง มูลพินิจ Chuang Moolpinit

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *