กุงคุณลุง กับสะพานแห่งความสุข

ร้านกุงคุณลุง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตแห่งใหม่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ทำเลที่ดีมากอยู่ติดกับสะพานไม้ไผ่ซูตองเป้ หรือสะพานอธิษฐานสำเร็จ เป็นร้านอาหารที่มีจุดชมวิวที่หลากหลายมุม รวมทั้งยังเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกด้วย

คุณวีรเวช ศุภวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนกรุงเทพๆและเป็นอดีตผู้ก่อตั้งบี-ควิกแต่ได้มาใช้ชีวิตบั้นปลายที่แม่ฮ่องสอน หลังจากเกษียณอายุ ตอนมาครั้งแรกตั้งใจว่าจะสร้างบ้านอยู่เฉยๆเพราะว่าได้ซื้อที่ในเมืองไว้ 30 กว่าปีแล้ว หลังจากนั้นเรามองเห็นว่า คนแม่ฮ่องสอนเขาเป็นคนดีนะ คนเมืองนี้มีศีลมีธรรม ผมมองว่าเขาทำอะไรกัน ท่านคงเคยได้ยินว่าเกษตรกรแม่ฮ่องสอนยากจนที่สุดในประเทศไทย average income per month 8,000 บาทต่อครอบครัวนะไม่ใช่ต่อคน แต่ในทางตรงกันข้าม แม่ฮ่องสอนมี Happiness Index ที่สูงที่สุดในประเทศไทย

80 กว่าเปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรที่นี่ปลูกอยู่ 3 อย่างคือกระเทียม ถั่ว และงา ปีแรกที่ผมมาอยู่ ตอนนั้นเกษตรกรเดินขบวนอยู่หน้าศาลากลาง กระเทียมตกต่ำเอากระเทียมมาเทหน้าศาลากลาง เมื่อประมาณ 10 กว่าปีแล้ว ตอนนั้นเหลือแค่โลละ 2 บาท ตอนนั้นผมมาวิเคราะห์ดูว่า วิธีการแก้ไขปัญหาของรายได้เกษตรกรมันต้องเข้าไปใน step ของการแปรรูป คือเขาขาดโอกาสตรงนี้ เขาแปรรูปไม่เป็น เขาก็จะแปรรูปตามขนมพื้นบ้านของเขาซึ่งคนกรุงเทพอาจจะไม่นิยมทานกัน หรือ packaging เขาเคยใส่ถุงพลาสติกและมัดหนังยางแล้วเอาป้ายที่มีหมึกพิมพ์สอดเข้าไป ซึ่งไม่มีเรื่องของสุขภาพ ถ้าอย่างนั้นเราคิดจะช่วยเกษตรกรเหล่านี้ ก็อยากจะทำเพื่อมาเป็นตัวอย่าง

โรงงานแรกของผมอยู่ในเมือง เป็นโรงงานเล็กๆ บนเนื้อที่ 150 ตารางวา เริ่มจากเอากระเทียมมาช่วยเขาก่อน มาแปรรูปขั้นต้นง่ายๆคือ เอากระเทียมมา process ให้มันเรียบร้อยจากเดิมแทนที่จะซื้อกระเทียมเป็นจุก ก็จะใส่มันในตะกร้า และแกะเปลือกกระเทียม คนกรุงเทพอยากทานกระเทียมสดแต่ว่าขี้เกรียจแกะเปลือกเพราะเปลือกมันเหนียว ผมก็เลยมองว่าถ้าเราแกะให้ เราก็จะสามารถสร้างงานให้กับคนที่นี่ได้ด้วย ก็คือแกะในแบบถูกสุขลักษณะ โรงงานเราก็ได้รับมาตราฐาน GMP (good manufacturing practice) และได้รับ อย จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คนมีงานทำ เกษตรกรได้ขายผลผลิตออกไป เรามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ผมก็ส่งเข้าไปขายใน Tops, Foodland, Lemon Farm, และ Golden Place ก็ขายได้ดี ทุกวันนี้ก็เติบโตไปได้เรื่อยๆ จากกระเทียมตรงนั้น ก็เอามาทำ process อีกรูปแบบหนึ่งก็คือกระเทียมเจียว

หลังจากนั้น เรามามองที่ ถั่วลายเสือ ของขึ้นชื่อของที่เมืองนี้ เราไปช่วยเขา แทนที่จะขายเป็นถั่วเม็ดอย่างเดียว เราก็เอามาเป็น mixed nuts ปรับ packaging ให้มันอยู่ได้นาน ปลอดเชื้อรา ก็พยายามเอาความรู้ทางด้าน food technology เข้ามาช่วยเขา ทำให้เป็นตัวอย่าง

เมื่อเราได้ย้ายมาไว้ที่นี่บนเนื้อที่ใหญ่กว่าคือ 9 ไร่ ความประสงค์ก็คือจะทำแค่เป็นโรงงานเท่านั้น แต่ทางจังหวัดได้ให้คำแนะนำว่า ไหนๆจะทำแล้ว และอยู่ใกล้วัดซูตองเป้ ทำใมไม่ทำให้เป็นที่ท่องเที่ยวจะได้เสริมกัน จะได้ช่วยจังหวัด และมันก็เลยกลายเป็น กุงคุณลุง ณ ตอนนี้

เมื่อจะทำแล้ว ผมก็อยากจะให้ที่นี่เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วย เราก็พยายามปลูกพืชที่ของแม่ฮ่องสอน ตรงข้ามร้าน เราทำแปลงของถั่ว ในอนาคตอันใกล้ถั่วตรงนี้พับ เดือนพฤศจิกายนแปลงนี้ก็จะปลูกกระเทียม ตอนนี้เราปลูกปอเทืองอยู่ เป็นพืชตระกูลถั่วเหมือนกันก็ให้ไฮโดรเจนกับดินเหมือนกัน ดังนั้นตรงนี้เราไม่ต้่องใส่ปุ๋ยเลย ผม commit ตัวเองว่าเราต้องทำอินทรีย์ ผมอยากให้เป็นที่ที่ใครมาแล้วมีความสุข

ถ้าเราจะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยว สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการมากที่สุดก็คือห้องน้ำที่สะอาดๆ ผมก็เลยเปลี่ยนแบบให้ใหญ่ขึ้น รู้สึกสดชื่นสบายใจ หลังจากนั้นเขาก็อาจจะมาทานไอศครีม ทานอาหารได้ และก็สามารถเลือกที่นั่งได้ซึ่งแต่ละจุดก็จะมี highlight ไม่เหมือนกัน ริมน้ำก็อีก feel ขึ้นไปยอดไม้ก็อีก feel จะเห็นวิวโล่ง ตอนเย็นก็จะเห็นพระอาทิตย์ตกได้ ในทุ่งหญ้าจะโล่งๆมองเห็นพืชต่างๆ คือคนมาที่นี่จะได้ความสุขในส่วนที่มาพักผ่อน ได้ความรู้บ้าง คนกรุงเทพมาไม่เคยเห็นต้นกระเทียม ต้นถั่ว

คอนเซ็ปท์คืออยากให้เป็นที่ที่นักท่องเที่ยวมาแล้ว ได้มาพักผ่อนหย่อนใจจริงๆ เราไม่ได้คิดค่า entrance fee คอนเซ็ปท์อีกอันคืออยากให้คนแม่ฮ่องสอนมีที่พักผ่อนหย่อนใจ บางคนเอาอาหารใส่ถุงใส่ปิ่นโตมาปูเสื่อทานอาหาร ผมก็ไม่ได้ว่าอะไร เขามีความสุข ผมก็ชื่นใจแล้ว เห็นแล้วมีความสุข แต่เขาก็ยังซื้อส้มตำและน้ำของเรา ผมบอกเขาว่า อย่าคิดว่าตรงนี้เป็นของผม มันเป็นของคนแม่ฮ่องสอน นี่คือสิ่งที่ผมแค่ไปหยิบหินขึ้นมาแล้วก็เอามาเจียรไนและเห็น เพราะว่า วิวก็วิวเดิม ดินก็ดินเดิม น้ำก็น้ำก็ของเขาทั้งนั้น เพียงแต่เรามาจัดสรรทำให้มันน่าดู น่าอยู่ น่าชม

ชื่อ กุงคุณลุง มาจากไหน คำว่า กุง เป็นภาษาท้องถิ่น ภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เนินเตี้ยๆ ข้างหน้าหลังจากเข้ามาจะเป็นเนิน จุดเดียวกับขึ้นต้นไม้ (แต่เดิมที่นี่เป็นทุ่งนา ปลูกถั่วเหลืองและงา) จากถนนมาทางด้านนี้จนถึงริมน้ำเป็นที่ที่มีโฉนดทั้งหมด

ผลตอบรับก็ดีนะครับ ไม่คิดว่า จะได้รับการตอบรับดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากคนแม่ฮ่องสอน เพราะว่าคนแม่ฮ่องสอนค่อนข้างที่จะเก็บตัว ผมดีใจที่เขามาแล้วมาซ้ำ แสดงว่าเขาพอใจ และก็ทำให้พวกเรามีกำลังใจในการทำงาน เขาก็จะมานั่งทานข้าว ขี่จักรยาน หรือนั่งชิลๆอยู่ข้างหลัง วิวจะสวยมากแถวรถโฟล์คสีฟ้ามองไปทางขวาจะมองเห็นวิวเขาสวยงามมากตรงบ้านรักไทย

ภัท วรเวช ลูกชาย ของคุณวีรเวช ดูร้านอาหารเป็นหลักและดูแล brand image ทั้งหมดของกุงคุณลุง พยายามที่จะทำให้มันทันสมัยขึ้นดูดี เหมือนกำหนดว่าคาแรคเตอร์ของที่นี่ควรเป็นประมาณไหน อย่างเช่น คือเราอยากให้มาแล้่วมีความสุขและสนุก ก็ใช้สีสันบ้าง อีกอย่างหนึ่ง ตอนแรกเราเป็นคนออกแบบโลโก้ ผมก็ไม่ได้คิดว่ามันควรจะสนุกไปทางไหน แต่พอคนมาเที่ยวเรื่อยๆ ผมก็ได้เรียนรู้ culture ของที่นี่ ตอนแรกไม่ได้ใช้สีเยอะ กะจะให้มันเป็นแบบ minimal คูลๆ แต่พอเราลองใช้สีเยอะ เรารู้สึกว่ามันดึงดูดคนที่นี่ได้มากกว่า ทำให้มันเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเมืองและแม่ฮ่องสอน หรือเรียกว่าลูกทุ่งโมเดิร์น

ผมใช้เวลา 4-5 เดือนกว่าจะมีสีสัน ตอนแรกเป็นขาว ดำ เทา จริงๆแล้วโครงสร้างทั้งหมดและสี เป็นรสนิยมของพ่อผม ผมแค่มาเติมสีสันให้ดู lively มากขึ้น ตอนแรกที่ยังไม่มีสีสันมันทำให้ดูแพงหรือหรูหราเกินไป คนไม่กล้าเข้ามาข้างใน บางคนขี่จักรยานเลยไป บางคนคิดว่าเราเก็บค่าเข้า พอเราตัวการ์ตูน ใส่คาแรคเตอร์ที่ติงต๊องขึ้นหน่อย ใส่สี

สำหรับอาหาร ผมก็ต้องเรียนรู้รสนิยมของคนที่นี่เหมือนกัน คนที่นี่เหมือนชอบกินอาหารที่เขาเคยกินอยู่แล้วแต่ว่าเขาชอบอะไรที่มันดูเหมือนเมืองนอกเช่นสเต็ก ช่วงแรกๆมีคนถามหาสเต็ก ผมก็ลองทำสเต็กไก่เทอริยากิดูว่าชอบมั้ย ถ้าจานไหนขายไม่ออกเลยผมก็ตัดทิ้งไป เรียนรู้ไปเรื่อยๆปรับเปลี่ยนเมนูไปเรื่อยๆ อาหารที่ขายดีที่สุดน่าจะเป็นสปาเก็ตตี้ เขาจะชอบเมนูที่เป็นเมืองนอกมากกว่า

ราคาบุฟเฟ่ที่นี่้คือ 129 บาทไม่จำกัดเวลา บางคนอยากกินอาหารในบุฟเฟ่แต่ไม่อยากกินแบบบุฟเฟ่ก็จ่ายเป็นแบบ a la carte ราคา 69 บาท ไปเป็นเงื่อนไขใหม่ เราจะตั้งถั่วทุกชนิดที่้เราผลิตไว้ตรงส่วนบุฟเฟ่เอาไว้ให้ตักชิม คนที่ไม่ทานบุฟเฟ่ก็ตักชิมได้ หรือลูกค้ารออาหารนานก็จะตักถั่วให้ชิม เราจะมีเมนูข้าวผัดกระเทียมตลอดเพราะว่าเราทำกระเทียมเจียวขายอยู่แล้ว อาหารประเภทแกงกะทิ แกงเทโพ แกงแดง คนที่นี่ไม่กินกัน ไม่มีคนตักเลย มื้อเย็น คนที่นี่จะไม่ออกมาทาน วันเสาร์อาทิตย์จะมาเร็ว 9.30 ก็มาแล้ว ขณะที่วันธรรมดาจะมาตอนเที่ยงจนถึงบ่ายสี่โมง ที่นี่เปิด 10.30 น. ถึง ทุ่มครึ่ง 19.30 น.

ในร้านอาหาร เราจะมีปลั๊กไฟให้ชาร์ตทุกโต๊ะอาหาร เพราะว่าเดี่ยวนี้ lifestyle ของคนปัจจุบันนี้เป็นแบบนี้ เป็นความสะดวกอย่างหนึ่งที่ให้สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาแล้วมีความสุขอยู่ที่นี่ ที่นี่มีติดฟรี WiFi ทั่วพื้นที่ ในอนาคตที่นี่จะมีที่พักสำหรับคนที่มาถือศีลที่วัดซูตองเป้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *