การเคลื่อนของน้ำและสี ช่วยผ่อนคลายทางอารมณ์

ศิลปิน “อัจจิมา เจริญจิตร” จะช่วยทำให้ผู้คนที่เข้ามาเสพภาพวาดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของน้ำพร้อมกับการไหลของสีของเธอรู้สึกผ่อนคลายและมีจิตใจสงบหลังจากเผชิญกับความวุ่นวายที่เข้ามาในชีวิต ในนิทรรศการเดี่ยว “The Color Blue Dream” ณ 333 Gallery, Warehouse 30, ตั้งแต่วันนี้จนถึง 27 สิงหาคม 2566 วันอังคาร – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 11.00 น. – 18.00 น.

งานนี้เริ่มมาอย่างไร

ที่จริงตัวเองทำงานภาพน้ำมาโดยตลอด สมัยตอนเรียนภาพพิมพ์ก็เป็นฟิกเกอร์ผู้หญิงที่อยู่ท่ามกลางสายน้ำ พอมาเรียนก็เป็นสีน้ำมันที่เป็นสายน้ำแต่ตอนนั้นเหมือนกับเราใช้พู่กันและเทคนิคด้วย ตอนป. โทก็ค่อนข้างจะเป็นสีที่อิงบรรยากาศของธรรมชาติมากๆเหมือนเวลาไปดู seascape เหมือนเรา study จากทิวทัศน์ของจริง ตอนที่มาเรียนปริญญาเอกก็มีอาจารย์ท่านหนึ่งก็เหมือนกับท้าทายเราว่าถ้าเราไม่เอาพู่กันเราจะสามารถควบคุมเทคนิคได้อย่างได้มั้ย โหยากจัง แล้วท่านก็บอกว่านี่แหละเราต้องลองดู ตั้งแต่นั้นมาเราก็รู้สึกว่าพู่กันเวลาเขียนเส้นมันแข็งถ้าเราสามารถที่จะควบคุมเทคนิคได้ซึ่งมันจะเหมือนฟิวส์ฟรีอิสระมาก เพราะว่ามันคือการไหลที่มันก็เหมือนเราจำลองน้ำที่มันหยุดนิ่งได้จริงๆบนผ้าใบ เพราะว่างานก็คือการสร้างฟอร์ม สร้างสี สร้างทุกอย่างจากการไหลเอียงของสีน้ำมันและเราก็เอาสีน้ำมันมาทับซ้อนให้ได้ตามจังหวะรูปร่างที่เราคาดหวังไว้

เปลี่ยนจากพู่กันมาเป็นการเทสี

บางคนมองว่ามันง่ายมันเป็นเทคนิคที่ใครๆก็รู้ ถูกต้อง แต่มันจะยากและท้าทายตรงที่ว่าทำยังไงให้เส้นมันเหมือนกับวิ่งของน้ำการเคลื่อนไหวของน้ำ เพราะฉะนั้นการไหลของสีมันต้องรู้จักธรรมชาติน้ำเหมือนเราวาดมาเยอะเรา study มาเยอะเราสามารถที่จะคล้ายๆว่าเรารู้ธรรมชาติ แล้วเราก็เอาธรรมชาติการไหลของมันตรงนั้นที่เราเรียนรู้เอามาใช้กับการทำงาน อย่างเช่น เราจะเห็นว่าพอจังหวะใกล้ทำไมการสร้างเส้นเป็นเส้นใหญ่เส้นหนาแต่ว่าในระยะไกลจะเป็นเส้นเบาเส้นไกลทำนองนั้นเหมือนเราสามารถที่จะคุมการสร้างเส้นให้ได้ตามจังหวะที่เราต้องการ

มันจะยากกว่าการใช้ผู้พันที่ฟิตฟอร์มไหม

ที่จริงเวลาการสร้างภาพจากตอนแรกเลย เดี๋ยวนี้สมัยก่อนเราก็จะเหมือนกับต้องไปถ่ายรูปเองต้องไป study เรื่องกล้องเรื่องหลายๆอย่างแต่สมัยนี้มันเยอะคือเราเหมือนกับเราดูวีดีโอแล้วจังหวะไหนที่เราชอบเรา capture แต่พอเรา capture แล้วมันจะเรารู้ว่าเราชอบอะไร แต่ว่าเวลาเราลงเวลาทำงานของเราเราต้องหมุนมันไปอีก

การเปลี่ยนแปลงตรงนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่

ตั้งแต่เรียนป.เอกเลย คือศิลปินที่เป็นการเทไหลของสีจะเป็นสีอะคริลิคและเป็นงาน Abstract แบบงานที่ไม่ได้บอกเรื่องราวงานที่ให้ตัวเทคนิคมันสร้างความงามของมันเอง แต่ว่างานของเราเองเป็นเรื่องของเรามีธีมความคิดชัดเรามีเหมือนอารมณ์ ความรู้สึกเรื่องน้ำชัดเวลาโดยตลอดเวลา เพราะฉะนั้นเนี่ยเราจะไม่ได้ไหลไปกับเทคนิคแต่เรามีภาพก่อนที่เราจะทำเรามีจังหวะแบบนั้น เราอยากได้สีแบบนั้น เราได้อารมณ์แบบนั้นก่อนเพราะฉะนั้นเรามีเป้าหมายโดยที่เรามีความคิดเรานำแต่เราไม่ใช่เอาเทคนิคมานำเราจนเราไม่มีตัวตน

การเริ่มเทไหลสีมันยากไหมตอนเริ่มต้น

ที่จริงเราก็ผสมของเหลวของสีไปก่อนแล้ว แต่ว่าความงามของมันใช่บางทีมันงามด้วยการที่สีชนสี แต่ก็มีเหมือนกันที่บางทีแล้วมันไม่ใช่การเทราดในครั้งเดียวเสร็จ คือมันจะต้องเหมือนกับว่ารู้ธรรมชาติ สะสมประสบการณ์มาเยอะจนเรารู้ว่าสีอะไรไปชนสีอะไรแล้วเสริมหรือดรอปลงไปนั้น เราต้องเทสร้างขึ้นมารอให้มันแห้งแล้วเราถึงจะใส่สีใหม่เข้าไปหรือว่าใส่สีตอนช่วงจังหวะที่มันเหมือนกับใกล้จะแห้งชื้นๆหรือว่ามันจะต้องรอให้มันแห้งทีเดียวแล้วเทใส่สีลงไปไม่ขัดกับจังหวะเดิมที่เราใส่ไว้

งั้นรูปหนี่งต้องใช้เวลานาน

นานมาก บางคนมองว่าภาพน่าจะใช้เวลาไม่นาน แต่จริงๆมันนาน มันก็คล้ายๆเหมือนเรามีจริตของการทำงานภาพพิมพ์ด้วยมันก็เหมือนกับว่ามีระบบความคิด เรื่องภาพพิมพ์เข้ามาด้วย

การทำงานตรงนี้มัน flow ไปง่ายกว่า

ใช่ค่ะคืองานเพ้นท์มันดีตรงที่ว่ามันอิสระมากกว่างานพิมพ์ ที่บางคนก็รู้สึกต้องทำเพลทก่อนถึงจะมากลิ้งหมึกและพิมพ์อีกที ความสดของการทำซ้อนๆกันมันไม่สด แต่งานเพ้นท์มันอยู่ตรงหน้าด้วย canvas ผืนเดียว เพราะฉะนั้นช่วงตอนแรกที่เราทำแล้วเจอปัญหาของเทคนิคคือทำแล้วก็พังาเยอะผ่านปัญหามาเยอะ

พูดถึง concept ของนิทรรศการครั้งนี้ The Color Blue Dream

มันหมายถึงความรู้สึกที่เรามันหลุดเข้ามาในพื้นที่ส่วนตัวมุมหนึ่งเหมือนกับเราอยากที่จะหลบหนีความวุ่นวายอยากจะหามุมสงบ อยากได้ความผ่อนคลายและรู้สึกว่าเวลามันเคลื่อนไปช้าๆเหมือนเราได้พักใจจริงๆแล้วก็รู้สึกเหมือนกับสงบในใจ มันเหมือนกับว่าเราได้เติมเต็มในส่วนที่จิตใจเราบ้าง คนจะนึกว่ามันหมายถึงเราใช้สีฟ้าหรือสีน้ำเงินอย่างเดียว มันเป็นสำนวนภาษาอังกฤษที่หมายถึงการหลุดเข้ามาอยู่ในโลกใบเล็กๆที่เวลาเคลื่อนตัวช้าๆ ความสุขสงบที่เราได้ผ่อนคลายในมุมนั้นจริงๆ และก็งานที่ตัวเองตั้งไว้ตอนแรกบอกตัวเองไว้ในใจว่างานนี้เหมือนกับว่าคนที่รู้สึกวุ่นวายและร้อนรน เมื่อเขาเข้ามาในนิทรรศการครั้งนี้ เขาจะใจเย็นเขาจะรู้สึกสงบและจะรู้สึกว่าเขาได้พักจริงๆแล้วด้วยตัวเทคนิคที่มันมีความทับซ้อนมันเป็นเสน่ห์ของตัวเทคนิค มันทำให้มองงานได้นานเหมือนกับว่าบางภาพมันเคลื่อนไหวได้เหมือนมันสะกดจิตได้

ทำไมถึงสนใจเรื่องน้ำตั้งแต่ตอนแรกเริ่ม

ไม่รู้เหมือนกัน อาจารย์แซวว่าบ้านเธอติดทะเลเหรอถึงมาชอบน้ำ สมัยเด็กๆเลย เวลาเราสนุกก็ไปทะเลแบบอยู่ดีๆเครียดจังเลยไปทะเลแล้วเราก็กลายเป็นว่าเพื่อนเล่นน้ำเรานั่งมองดูทะเล มองได้ทั้งวันทั้งคืนไม่รู้จักเบื่อเหมือนน้ำมันเคลื่อนไหวทำให้ใจเราล่องลอยไปด้วย ทำให้เราสงบลงได้ด้วย เสียงทะเลเสียงคลื่นก็พอดี

เสน่ห์ของมันคือตรงไหน

ที่จริงเข้าใจว่ามันน่าจะแล้วแต่จริตคน บางคนก็อาจจะไม่เอามองน้ำแล้วเวียนหัวก็มี เพราะว่าแต่ละคนก็มีประสบการณ์หลากหลาย แต่เรามองว่าคือเราคิดว่าบางคนที่เขาที่จริงไม่ได้หมายความว่าคนชอบทะเลชอบน้ำเข้ามาดูงานได้อย่างเดียวแต่เราคิดว่าเราสร้าง The blue color มันคือมุมหนึ่งที่คุณจะพักใจ คุณรู้สึกว่าชีวิตคุณวุ่นวายเหลือเกิน นี่แหละเข้ามามองงานแล้วบางทีคนที่ไม่ได้อยู่สายศิลปะจริงๆเข้ามาอาจจะรู้สึกว่ามันสวยใช่แต่ว่าถ้าคนนั่งมองไปเรื่อยๆคนจะรู้สึกว่างานมันมีเสน่ห์อะไรบางอย่าง

ฟังดูเหมือนศิลปะบำบัด

อาจจะเป็นเพราะว่าภาพน้ำแต่ละภาพไม่หวือหวามาก มันจะมีแค่ 2 ชิ้นเองที่เป็นเรื่องของบางช่วงเวลาเพราะว่าเวลาเราทำงานปีครึ่งบางทีก็ทำงานอื่นมาเรื่อยๆเราอยากทำจังหวะที่ร่าเริงอิสระ

นิทรรศการครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 โทน

ก็คือ day bright ภาพที่มองกลางวันแล้วสดใสแล้ว Night Light ก็คือมันเป็นภาพที่คุณมากลางวันได้แต่พอกลางคืนมันเรืองแสงได้มันเปลี่ยนรูปร่างเป็น option อีกอันหนึ่งให้คุณได้เพราะว่าความที่ตัวเองชอบมองงานไปจนมืดค่ำมันก็เลยรู้สึกว่าอยากให้นานมันเปลี่ยนหรือมันท้าทายกับเราในตอนกลางคืนบ้าง

ชอบช่วงเวลาไหนของน้ำ

ชอบหมดแต่คิดว่างานที่ดูในตอนกลางคืนมันสงบมากกว่ามันเงียบมันนิ่ง

ติดตามได้ทาง Line: @333Gallery, Facebook / Instagram: 333GalleryGroup, www.333gallery.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *