หยุดความเหลื่อมล้ำทางเพศใน “Gender Fair 2023”

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ สานต่อเพื่อยกระดับความร่วมมือ ภายใต้แนวคิด Innovation for Gender Equality ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อสร้างสังคมแห่งความเท่าเทียมระหว่างเพศ และให้เกิดการสร้างและส่งต่อสังคมที่เอื้อให้บุคคลทุกคนได้รับสิทธิ โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ในกิจกรรม “สานพลังเครือข่ายร่วมขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ: Gender Fair 2023” ณ ลานหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กล่าวชื่นชมองค์กรตัวอย่างทั้ง 17 องค์กร ที่มีความมุ่งมั่นในการนำแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมระหว่างเพศไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและการประกอบกิจการ พร้อมกับนางจินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ผู้บริหารกระทรวง (พม.) และ เอกอัครราชทูตผู้แทนสถานทูตประจำประเทศไทย ผู้บริหาร UN Women UNFPA

นิทรรศการผลงาน 17 องค์กร ให้คำปรึกษาสุขภาพเพศ จำหน่ายสินค้าจากองค์กรเครือข่ายส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ Flash Mob ภายใต้แนวคิด “Gender Equality for All” โดยมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ โดยมีดารานักแสดงชื่อดัง อาทิ ปอย ตรีชฎา เพชรรัตน์, อั๋น ภูวนาท คุณผลิน, อิสเบลลา เมนิน มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2022, ไฮดี้ อแมนด้า เจนเซ่น  รองอันดับ 1 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2022, หนูดี อรปรียา เนซ่า มามูดี้ รองอันดับ 3 มิสแกรนด์ ไทยแลนด์ 2022 ร่วมเผยมุมมองและแสดงพลังความเท่าเทียม, การแสดงแฟชั่นโชว์ I Just Dress Not Just a Fashion โดย ซินดี้ สิรินยา, การแสดงทิฟฟานี่โชว์สุดอลังการ และ มินิคอนเสิร์ตจาก ANGLE (แองจี้ ฐิตาชา)

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมบทบาทของสตรีและการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women – CEDAW) และการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ได้ตระหนักถึงการส่งเสริมโอกาส การเข้าถึงสิทธิด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองอย่างเท่าเทียมของผู้หญิง ผู้ชายและบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งการปรับปรุงค่านิยม แบบแผนความประพฤติทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อขจัดอคติที่อยู่บนพื้นฐานของความเหลื่อมล้ำและความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *