“ดีใจ โกสิยพงษ์” ภาษาใหม่แห่งภาพ เห็นเสียง-ฟังสี

ศิลปิน ดีใจ โกสิยพงษ์ จัดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกที่มีชื่อว่า “Resonant Abstractions” ที่ได้สำรวจจุดตัดระหว่างทัศนศิลป์เสียง ภาษาและความทรงจำ สร้างประสบการณ์หลากประสาทสัมผัสที่ท้าทายการรับรู้แบบดั้งเดิมของการสื่อสาร ณ SAC Gallery สุขุมวิท 39 ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 พฤษภาคม 2568 หลังจากนิทรรศการกลุ่ม “Being Human | Human Being” ที่ Carlsberg ByensGalleri เดนมาร์ก และ “It’s Not Me. It’s My Image” ที่ Gallery House สหรัฐอเมริกา

“นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกจะเกี่ยวกับภาษา ดีใจต้องการหาวิธีที่จะสามารถเอาภาษาที่ไม่มีบริบทและก็ไม่มี bias แล้วเราจะทำอย่างที่จะทำอย่างนั้น ดีใจึงสร้างภาษาของตัวเอง บล็อคพวกนี้ที่เราเห็น ดีใจคิดถึงมันเป็นตัวอักษรในภาษาของดีใจ และก็ดีใจนำมาค่อยๆ วางตามความทรงจำของดีใจ เสร็จแล้ว ดีใจก็จะเอาตัวอักษรนี้ มาถอดและใส่ในตัวดนตรีอันนี้”

ผลงานที่เป็นสัญลักษณ์ รูปทรงบล็อกกับเสียง มีความหมายมั้ย

“มีค่ะ มันจะเป็นความทรงจำ เพราะดีใจเป็นคนที่ พอได้ยินสีและการมองเห็นเสียง ที่เรียกว่า ซินเนสทีเซีย (Synnesthesia) และถ่ายทอดออกมาเป็นแบบนี้ หลังจากนั้น พอเราเรียนภาษา เราอ่าน ก ไก่ ข ไข่ เราก็จะได้ยิน ก ไก่ ข ไข่ ในหัวของเราด้วย ดีใจก็อยากจะพาผู้ชมเข้ามาดู มาเข้าถึงภาษา ดีใจอยากที่จะได้ Experience นั้นด้วย ดังนั้นก็จะมีเสียงออกมา ที่จะได้บอกว่า พวกนี้มีกฎเกณฑ์ของมันนะ มันคือภาษาของมันนะ และอยากให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว มันเทียบกันได้เลยว่ามันมาจากไหน เหมือนเราอ่านหนังสือ”

ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

“เป็นเรื่องความรักค่ะ ดีใจเป็นคนที่อยากจะทำงานที่เกี่ยวกับความรัก เพราะคิดว่าความรักมันมีความรู้สึกเยอะ พอมันเอ่อล้นออกมา งานมันก็จะรู้สึกด้วย”

การแทนค่าของสีต่างๆ กับตัวอักษร

“ถ้าเป็นสีชมพูที่มันอ่อนหน่อย ตัวเสียงมันจะก็บ่งบอก Octave มันก็จะสูงขึ้น ชิ้นข้างบนเป็นสีเทาอย่างเดียว ตัว MIDI ที่ดีใจใช้มันเล็กมาก เปรียบเสมือนคำที่ไม่มีความรู้สึก อย่างเช่น และ แล้ว”

ได้ไอเดียมาอย่างไร หรือแรงบันดาลใจศิลปินต่างชาติ

“ศิลปินที่ดีใจชอบดูเป็นคนที่เป็น เขาจะคิดว่าเขาเป็นคุณพ่อของสี คือ Josef Albers เขาจะทำ colour theory เยอะๆ แต่ส่วนเรื่องอิทธิพล ดีใจไม่ทราบ ดีใจเป็นคนคิดมาก คิดเยอะ คิดไปว่าทำใมดีใจคิดแบบนี้ ทำใมถึงใช้คำพวกนี้ และคำพวกนี้มาจากไหน แล้วมันมีวิธีที่คำพวกนี้ไม่มีบริบท ไม่มี bias มั้ย และเสียงที่เราใช้ บางครั้งเราเคยฟังคนที่พูดภาษาอีกอย่าง แล้วดีใจบางครั้งก็ตีความไปแล้ว แต่จริงๆ แล้วมันก็เป็นวิธีที่เขาพูด ดีใจเอาบริบทตัวเองเข้าไปในภาษาที่ตัวเองไม่เข้าใจ ดังนั้นดีใจเอาเรื่องนี้มาคิดว่า มันมีวิธีที่เราจะไม่เอาบริบทตัวเราไปใส่คนอื่น จริงๆ แล้วดีใจคิดว่ามันไม่มีทางที่เราสามารถจะเรียนรู้ภาษาโดยที่ไม่มีบริบทของเราเอง แต่อันนี้จะเป็นสิ่งที่ดีใจอยากตอบคำถาม พอทำงานไป อีก 10-20 ปี ก็คงตอบคำถามนี้ ยังหาทางไม่ออก”

ผลงานสื่อสารกับเราอย่างไร

“ดีใจคิดว่า communication มันไม่ใช่แค่เป็น Visual ไม่ใช่แค่ตัวอักษร หรือเป็น Auditorial แต่มันเป็น Body Language ด้วย มันคือทำนอง สีหน้า คือทุกอย่างเลย ดังนั้นดีใจแค่อยากที่จะ มันไม่ใช่การวิจารณ์ภาษาแต่มันคือการวิเคราะห์มากกว่า ภาษาคืออะไร”

เคยดูงานศิลปะแบบนี้ที่อเมริกามั้ย

“ถ้าเป็นเรื่องภาษา ดีใจไม่เคยแต่ดีใจอ่านหนังสือเกี่ยวกับภาษา จะมีคนหนึ่งชื่อ ลาคาน (Lacan) ที่ทำ Theory ของเขาชื่อ Mirror Symbol and Object การที่เราเหมือนเห็นถ้อยคำนี้เป็น form สมมุติคำว่า และ เราเห็นคำว่าและอยู่ในหัวเราหรือเปล่า มันเหมือน Context บริบทสำคัญมาก”

ใช้เวลานานมั้ยกว่าจะคิดเรื่องนี้

“นานๆ เหมือนกัน เพราะว่า พอคิดแล้วมันชอบเหมือนทางตัน แล้วเราจะไปอย่างไร มันถูกสร้างมาเรื่อยๆ มาประมาณ 4 ปีแล้ว”

เราทำเองทั้งหมดเลยหรือ

“ทำเองทำหมดเลยค๋ะ ดีใจค่อยๆ เอาตัวบล็อคออกมาใส่ในคอมพิวเตอร์มันเป็นโปรแกรมชื่อ Logics ค่อยๆ วางที่ละอัน โดยที่คำนวณ ดีใจตีภาพนี้เป็น Bridge อันนี้จะเป็น Bridge อันหนึ่ง ในนี้มันจะมี 4 parts พอดีใจเข้าไปใน MIDI ดีใจก็จะขยายมันและนับที่ละช่องให้มันเป็นเหมือนกันให้ได้ ภาพชิ้นหนึ่งใช้เวลานานมากๆ ถ้ารวมเพลงด้วย ประมาณหนึ่งเดือน”

ติดตามได้ทาง www.sac.gallery, Facebook: SAC Gallery, Instagram: @sacbangkok

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *