ผู้หญิงด้านเทคโนโลยีและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีส่วนสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ‎บทบาทของผู้หญิงในการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อสนับสนุนแนวโน้มดังกล่าว มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) จึงได้จัดงานเสวนาและบรรยายในหัวข้อ “Leadership in Tech: AI Ethics, Data Governance and the Power of ‎Community” ซึ่งเป็นเวทีที่มุ่งเน้นการเฉลิมฉลองความสำเร็จ และเสริมศักยภาพให้กับผู้นำหญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของประเทศไทย

ศาสตราจารย์ซัน ซัน ลิม (Sun Sun Lim) รองอธิการบดีฝ่ายความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมและศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี ลีคงเชียน (Lee Kong Chian) จาก SMU ได้บรรยายในหัวข้อ “AI Ethics and Data Governance in the Asian Context” กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เนื่องมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี อนาคตของการทำงาน และหลักจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) พร้อมเน้นย้ำว่า ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนสามารถใช้ AI ให้เป็นประโยชน์และสนับสนุนผู้บริโภคที่มีมากถึง 673 ล้านคนของภูมิภาคนี้ โดยผ่านการจัดตั้งกรอบการกำกับดูแลที่ให้ความสำคัญกับการมีผู้คนเป็นศูนย์กลาง (‎Human-Centric Approach‎)

งานยังมีการเสวนา “The Power of Mentorship & Community in Thailand’s Tech Sector” โดยคุณสิริกัญญ์ เลิศศักดิ์วิมาน ผู้ก่อตั้ง KCX Earth and People Lab คุณกนกกร ประสงค์ธนกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Davoy.tech และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย SMU สาขา Master of IT in Business (MITB) ที่จบการศึกษาในปี 2561 รวมถึง คุณภาพเพรง เลี้ยงสุข ผู้อำนวยการโครงการ Techsauce คุณวรนุช วรุตตมพรสุ ผู้จัดการด้านประสิทธิภาพของระบบSalesforce ระดับโลกจากบริษัทด้านการดูแลสุขภาพระดับสากลและคุณซีลิน ควอค (Celine Kuok‎) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศของ SMU สาขากรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์ ซัน ซันลิม กล่าวว่า “ผู้นำที่เป็นผู้หญิงได้มอบมุมมองที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และทำให้เราทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ จะตอบสนองและเข้าถึงความต้องการของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องจากคำตอบด้านเทคโนโลยีนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างจึงสำคัญมากที่ทีมงานขององค์กรควรมีผู้นำที่สามารถสะท้อนถึงประชากรทุกกลุ่ม” และเสริมว่า ‎”‎ผู้หญิงในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเติบโตในวงการสาขาต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี‎”

คณะผู้ร่วมเสวนายังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสารและการสร้างความมั่นใจของผู้หญิงในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในบริบทของภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนบทบาทของการให้คำแนะนำและคำปรึกษา รวมถึงการเป็นตัวแทนในการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยศาสตราจารย์ ซัน ซัน ลิม กล่าวว่า ‎”คุณไม่สามารถเป็นในสิ่งที่คุณนึกภาพไม่ออกได้”‎พร้อมเน้นย้ำว่า “เมื่อผู้หญิงไทยรุ่นใหม่ได้มองเห็นผู้นำหญิงที่มีความสามารถและเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนในวงการเทคโนโลยี สิ่งนี้จะช่วยเสริมพลังให้ผู้หญิงก้าวเข้าสู่เส้นทางในสาขาอาชีพนี้”

การตัดสินใจของทางมหาวิทยาลัยในการจัดตั้งศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศของ SMU ในประเทศไทยนั้นสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการเป็นศูนย์กลางด้านความเป็นผู้นำทางความคิดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความคิดริเริ่มนี้มุ่งเน้นการฝึกอบรมทักษะในสาขาการศึกษาที่มีความสำคัญ เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การบริหารความมั่งคั่ง และการจัดหาเงินทุนสำหรับการสร้างธุรกิจ (Venture Financing) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถในประเทศไทย

คุณซีลิน ควอค  (Celine Kuok‎) ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศของ SMU สาขากรุงเทพฯ กล่าวว่า “ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจและให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มประชากรรุ่นใหม่ที่มีความกระตือรือร้นในการพัฒนายกระดับทักษะ ซึ่ง SMU ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรมในประเทศไทย” และกล่าวเสริมว่า “จากการที่เรามองเห็นถึงศักยภาพและความมุ่งมั่นในด้านการศึกษาของประเทศไทย เราจึงเดินหน้าขยายบทบาทผ่านศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศของ SMU สาขากรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง‎”‎

นอกจากนี้ SMU ยังร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทยผ่านการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศข้ามพรมแดน และการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้โดย SMU มุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยในการขยายธุรกิจสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียน

ศาสตราจารย์ซัน ซัน ลิม ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของหลักสูตรปริญญาโทของ SMU ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมว่าสามารถช่วยให้บุคลากรรุ่นใหม่ของประเทศไทยมีความพร้อมที่จะพัฒนาสู่ความสำเร็จ ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเชิงสัมมนาที่เป็นนวัตกรรมทางการศึกษา และการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

หนึ่งในหลักสูตรที่มีความโดดเด่นของ SMU คือ หลักสูตรปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ (Master of IT in Business: MITB) ซึ่งได้รับการจัดอันดับโดย QS Global Master’s in Business Analytics Rankings ปี 2568 ‎ให้เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย และอันดับที่ 24 ของโลก โดยหลักสูตร MITB มุ่งเน้นการบูรณการระหว่างธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีสาขาเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางทั้งในด้านเทคโนโลยีทางการเงินและการวิเคราะห์ข้อมูล (Financial Technology & Analytics)การวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics)ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation)

นอกจากนี้แล้ว อีกหนึ่งหลักสูตรซึ่งมีความน่าสนใจคือปริญญาโทสาขาการประกอบการและนวัตกรรม (Master of Science in Entrepreneurship and Innovation: MEI) ซึ่งออกแบบมาเพื่อพัฒนาผู้นำด้านนวัตกรรมและผู้ประกอบการแห่งอนาคตของภูมิภาคเอเชียให้สามารถขับเคลื่อนความสำเร็จทางธุรกิจทั้งในภูมิภาคอาเซียนและระดับนานาชาติ

ในปี 2568 นี้ถือเป็นโอกาสพิเศษเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษาต่อเนื่องจากเป็นปีที่เฉลิมฉลองการก่อตั้งมหาวิทยาลัย SMU ‎ครบรอบ25 ปี โดยมหาวิทยาลัยได้มอบทุนการศึกษาสนับสนุนค่าเล่าเรียนสูงสุดถึง 40% สำหรับการลงทะเบียนสมัครเข้าเรียนในปี 2568 ผู้ที่สนใจสามารถทดลองใช้เครื่องมือออนไลน์เพื่อคำนวณการประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาเพื่อพัฒนาเส้นทางสู่อนาคตที่กว้างไกล

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *